กิจกรรม 12 พฤศจิกายน 2553

สืบค้นข้อมูล

                                              
ส่วนรอยเลื่อน ที่น่าจับมอง คือรอยเลื่อนสะแกง หรือสะเกียงในประเทศพม่า เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนแขนงของลอยเลื่อนสะแกง เพราะมีเขื่อนศรีนครินทร์ตั้งอยู่ โดยในปี 2526 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 60 กม.แต่ไม่ได้ส่งผลเสีย และสร้างความเสียหายกับเขื่อน ดังนั้น ควรต้องมีแผนป้องกันภัย แผนเตือนภัย แผนอพยพ และแผนจัดการ เมื่อเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังรวมถึงรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทยด้วย ส่วนรอยเลื่อนขนาดใหญ่นอกประเทศนอกจากรอยเลื่อนสะแกงแล้ว ยังมีรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทยโชคดีที่บรรพบุรุษเลือกกาญจนบุรีและราชบุรี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและอุทัยธานี รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุมหนองคายและนครพนม รอยพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดแผ่นดิน ไหวค่อนข้างต่ำสำหรับรอย เลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังอยู่มี 13 กลุ่ม ประกอบด้วย รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุมจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมแม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนเมย ครอบคลุมตากและกำแพงเพชร รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม เชียงใหม่, ลำพูน และเชียงราย รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุมลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุมลำปาง, เชียงรายและพะเยา รอยเลื่อนปัว ครอบคลุมน่าน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุมอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุมเลื่อนระนอง ครอบคลุมประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง, และพังงา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุมสุราษฎร์ธานี, กระบี่ และพังงา
ตอบข้อ2 พม่า
สืบค้นข้อมูล

 ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีปการแบ่งทวีปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันอยู่ 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ ทวีปยุโรปกับเอเชียควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปยูเรเชีย (Eurasia) และทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ควรแยกกันหรือ
(British Isles) จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป บางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า โอเชียเนีย (Oceania) โดยหมายถึงประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์. บางครั้งก็
รวมกันเป็นทวีปอเมริกา นักภูมิศาสตร์บางท่าน (ส่วนน้อย) คิดว่าควรรวมยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เป็นทวีปยูราเฟรเชีย (Eurafrasia) (ดู ทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย)
โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาสอนว่ามี 7 ทวีป ขณะที่อเมริกาเหนือสอนว่ามี 6 ทวีป
(รวมยุโรปกับเอเชียเป็นยูเรเชีย) ยุโรป อเมริกาใต้ รวมทั้งสหราชอาณาจักรและเม็กซิโก สอนว่ามี 5 ทวีป (รวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา ไม่มีทวีปแอนตาร์กติกา) ในกีฬาโอลิมปิกแยกโลกเป็น 5 ทวีป (ตามสัญลักษณ์ห่วง 5 วง) ตามทวีปที่มีคนอาศัยอยู่ถาวร (ไม่รวมทวีปแอนตาร์กติกาที่มีคนอยู่ชั่วคราว และควบรวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา)เราอาจรวมทวีปเป็น มหาทวีป (supercontinent) หรือแบ่งย่อยเป็น อนุทวีป (subcontinent) ก็ได้ แต่ก็ไม่มีนิยามที่แน่นอนชัดเจนเช่นกันส่วนเกาะต่าง ๆ โดยปกติจะกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่อยู่ใกล้เกาะนั้นที่สุด ดังนั้นหมู่เกาะบริติช กำหนดให้ออสเตรเลีย (อาจรวมถึงนิวซีแลนด์) เป็นทวีปทวีปหนึ่ง โดยหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ได้อยู่ในทวีปใด ๆ เลยตอบข้อ 1 ตะวันตกของแอฟริกา กับ ตะวันออกของอเมริกาใต้
สืบค้นข้อมูล
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิอย่างมหาศาลจากประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตนับแสนคนในประเทศที่อยู่นในเขตแผ่นดินไหว เช่นจีนและญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินครั้งล่าสุดที่เมืองโกเบประเทศญึ่ปุ่นได้เกิดความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือนทางด่วนและระบบสาธารณูปโภคมากกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าจะได้ออกแบบก่อสร้าง ให้เผื่อแรงแผ่นดินไหวตามกฎหมายที่บังคับไว้แล้วก็ตามประเทศไทยถึงจะไม่ได้อยู่ในบริเวณแผ่นดินไหวใหญ่ของโลกแต่จากการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งโดยมีศูนย์กลางทั้งในและนอกประเทศบางครั้งส่งแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้โดยทั่วไป และเกิดความเสียหายเล็กน้อยแก่อาคารเช่น แผ่นดินไหวเมื่อวันที่17กุมภาพันธ์ 2518ขนาด5.6 ริคเตอร์ที่จังหวัตตาก เมื่อวันที่  22 เมษายน 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ที่จังหวัดกาญจนบุรีและครั้งล่าสุดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ ที่จังหวัดเชียงรายได้ทำให้อาคารโรงพยาบาลพานเสียหายหนักถึงขึ้นระงับการใช้อาคารโรงเรียนและวัดหลายแห่งเสียหายเล็กน้อย จนถึงเสียหายปานกลางปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการก่อสร้างอาคารสูงและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายตลอดจนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และจำนวนประชากรของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยมีอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดภัยจากแผ่นดินไหวสูงขึ้น

สืบค้นข้อมูล
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว 
ตอบข้อ  2

สาเหตุของแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงเครียดภายในโลกซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างมากระหว่างเปลือกโลก และหินหลอมภายในโลกเมื่อแรงนี้กระทำต่อหินแข็งภายในโลกจะทำให้หินแตกออกเป็นแนว เรียกว่า แนวรอยเลื่อน(Fault)เมื่อรอยเลื่อนนี้ขยับตัวก็จะปล่อยพลังงานออกมาอยู่ในรูปของการสั่นไหว ซึ่งก็คือแผ่นดินไหวนั่นเองโดยปรกติรอยเลื่อนจะอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกไม่ปรากฎให้เห็นที่ผิวดินแต่มีเหมือนกันที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน เช่น รอยเลื่อนชานแอนเดรสที่แคลิฟอร์เนียบริเวณรอยเลื่อนเคลื่อนตัวนี้จะเป็นที่รวมของศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากมาย ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่คาดว่ายังมีการเคลื่อนตัวอยู่ในภาคตะวันตกและภาคเหนือของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเมย - อุทัยธานี รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนแม่ทาและ รอยเลื่อนเหล่านี้จำเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะการเคลื่อนตัวตลอดจนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีกและขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่ควรจะเกิดในแต่ละรอยเลื่อนเพื่อการวางแผนป้องกันภัยอันอาจจะเกิดขึ้น ในบริเวณที่มีอัตราเสื่ยงต่อแผ่นดินไหวสูงเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นพื้นดินจะถูกรบกวนและเคลื่อนออกจากจุดกำเนิดในรูปของคลื่นความสั่นสะเทือนเหมือนกับการโยนกรวดลงในน้ำพื้นน้ำจะถูกคลื่นพัดพาไปเป็นระลอกจนกระทบฝั่งคลื่นแผ่นดินไหวก็เช่นเดียวกันจะคลื่นที่ไปจนกระทั่งพลังงานหมดไปฉะนั้นถ้าเรามีเครื่องมือที่มีความไวพอก็สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวในระยะห่างไกลได้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวนี้จะมีประโยชน์ในการหาตำแหน่ง ขนาดและความลึกของแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งได้หากมีสถานีตรวจเกินสามแห่งขึ้นไปปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีตรวจแผ่นดินไหว 12 แห่งคือ สถานีเชียวใหม่,สถานีเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก, สถานีนครสวรรค์, สถานีปากช่อง จังหวัด,นครราชสีมา, สถานีอุบลราชธานี, สถานีเลย, สถานีเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญ จนบุรี, สถานีหนองพลับ ประจวบ คีรีขันธ์, สถานีสงขลา,สถานีภูเก็ต และสถานีน่าน นอกจากนั้นยังมีเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ตรวจวัดอัตราเร่งขอพื้ดินเรีว่ StrongMotionAccelerograph (SMA)ติดตั้งตามเขื่อนใหญ่ๆ อาคารสูนงงนใน กทม.และเชียงใหม่ขนาดและความรุนแรงแผ่นดินไหวขนาดแผ่นดินไหวคือการวัดจำนวนหรือพลังงาน ซึ่งปลดปล่อยออกมาที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวหาได้โดยการวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวจแผ่นดินไหว แล้วคำนวณในสูตรการหาขนาดซึ่งคิดค้นโดยนักแผ่นดินไหวชาวเยอรมันชื่อนายซีเอฟ  ริคเตอร์ (C.F. Richter)เราจึงใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า "มาตราริคเตอร์"สูตรเบื้องต้นในการคำนวณขนาดคือ M = Log A - Log Ao  ซึ่งอยู่ในรูปของพลคณิตฉะนั้นขนาดแผ่นดินไหวต่างกัน 1 ชั้น จะมีค่าต่างกัน 10 เท่า นั่นคือแผ่นดินไหวขนาด 8ริคเตอร์มีค่าเป็น 10เท่าของขนาด 7 ริคเตอร์และ 100เท่าของขนาด6 ริคเตอร์ เป็นต้น แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดวัดได้ 8.9 ริคเตอร์ ที่ประเทญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1933 ขนาดแผ่นดินไหว (Magntude) มิได้หมายถึงความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity)ไปด้วยเช่นแผ่นดินไหวปี ค.ศ.1933มีขนาด  8.9  ริคเตอร์ แต่มีเสียชีวิตเพียง  3,000 คนเท่านั้นเปรียบเทียบกับปีคศ.1976แผ่นดินไหวที่จีนมีขนาดเล็กผู้ลงมาคือ8.2 ริคเตอร์แต่เสียชีวิตถึง 250,000 คน ที่เป็นเช่นนี้เพราะขนาดแผ่นดินไหวจะคงที่ในแผ่นดินไหวแต่ละครั้งแต่ความรุนแรงจะแตกต่างไปตามระยะทาง สภาพทางธรณีวิทยา แลมาตรฐานการก่อสร้าง"ความรุนแรงแผ่นดินไหว" วัดได้โดยใช้ความรู้สึกว่ามีการสั่นสะเทือนมากะน้อยเพียงใดดูความเสียหายต่ออาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ และเปรียบเทียบกับมาตราวัดอันดับความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว  เช่น เมื่อวันที  22 เมษายน  2526 วัดขนาดแผ่นดินไหวได้  5.9  ริคเตอร์ ซึ่งมีขนาดเดียวแต่ความรุนแรงในแต่ละแห่งจะไม่เท่ากันเช่นที่กรุงเทพฯความรุนแรงอยู่ในอันดับ 5ตาม "มาตราเมอร์แคลลี" หมายความว่า ชาวกรุงเทพฯ รู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวกันได้เกือบทุกคนหลายคนตื่นตระหนก ถ้วยชามแตก น้ำกระฉอกออกจากแก้วหรือภาชนะ ซึ่งแน่นอนย่อมมีความรุนแรงต่างออกไปจากบริเวณที่อยู่ศูนย์กลาง หรือบริเวณที่อยู่ห่างไกลออกไปจากบริเวณที่อยู่ศูนย์กลาง หรือบริเวณที่อยู่ห่างไกลออกไปด้วยเหตุนี้การศึกษาข้อมูลแผ่นดินไหวใประเทศไทย จะทำให้ทราบถึงภูมิหลังและลักษณะของการเกิดแผ่นดินไหว ตลอดจนสาเหตุของแผ่นนดินไหวและรอยเลื่อนต่างๆที่คาดว่าเป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวนอกจากนั้นการศึกษาความรุนแรงของแผ่นดินไหวนอกจากนั้นการศึกษาความรุนแรงของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนที่แบ่งเขตแผ่นดินไหวและแผนที่นี้จะเป็นตัวกำหนดค่าความเสี่ยงของภัยจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ต่างๆของประเทศสำหรับที่จะนำไปใช้ในการออกกฎกระทรวงว่าด้วยแรงแผ่นดินไหวเพื่อควบคุมการก่อสร้างต่างๆให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้อย่างเหมาะสม 
ตอบข้อ 1


ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,32เมตร
ตอบข้อ2

สืบค้นข้อมูล
ดาวฤกษ์(Stars)
ดาวฤกษ์เป็นกลุ่มก้อนก๊าซที่อยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง แหล่งพลังงานของดาวฤกษ์อยู่ในใจกลาง
ของดวง ดาวอันเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ทำให้ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัว
เองดาวฤกษ์เป็นดาว ที่อยู่ไกลจากโลกมาก แสงจากดาวฤกษ์ต้องใช้เวลาเดินทางอันยาวนาน
เป็นปี กว่าจะมาถึงโลกได้ ดาวฤกษ์ที่เราเห็นอยู่ในคืนวันนี้อาจเป็นดวงดาวแห่งอดีตกาล
เพราะดาวฤกษ์นั้นอาจแตกดับไปแล้วก็ได้ เหลือเพียงแสงที่วิ่งมายังโลกเท่านั้น แสงจากดาวฤกษ์
ที่วิ่งลงมาต้องผ่านชั้นบรรยากาศของโลกทำให้แสง ที่ผ่านเข้ามาเกิดการหักเหและดาวฤกษ์อยู่ไกลมาก ลำแสงของดาวฤกษ์จึงเป็นลำแสงที่เล็กมากเมื่อเทียบ กับลำแสงจากดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กว่า จึงทำให้คนบนโลกมองเห็นดาวฤกษ์มีแสงกระพริบระยิบระยับ


การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์
จากการศึกษาโดยละเอียดพบว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงมีการเคลื่อนที่ไปในอวกาศในทิศทางที่ต่างกันด้วย ความเร็วที่ต่างกัน แต่มันอยู่ห่างไกลจากดลกมาก คนบนโลกจึงไม่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ของดาวฤกษ์แต่ละดวง แต่จะเห็นมันเคลื่อนที่ไปพร้อมกันทั้งระบบบนท้องฟ้า ทำให้รักษาระยะห่างระหว่าง กันเท่าเดิมเสมอจึงเห็นดาวฤกษ์ไม่เคลื่อนที่เราเรียกว่าดาวประจำที่ ในการใช้ดาวเป็นตัวบอกตำแหน่งบนพื้นโลกมักใช้ดาวเหนือ(Polestar หรือ Polaris)เป็นตัว บอกตำแหน่ง การหาดาวเหนือทำได้โดยต่อเส้นสมมติแทนแกนหมุนของโลกจากขั้วโลกเหนือพุ่งขึ้นไปสู่ ท้องฟ้า แนวแกนสมมตินี้จะผ่านดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีความสุกสว่างมากดาวดวงนี้คือ"ดาวเหนือ"ดาวเหนือ เป็นดาวฤกษ์ที่คนซึ่งอยู่เลยเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือจะเห็นดาวเหนือไม่มีการเคลื่อนที่ตลอดทั้งคืนทั้งนี้ เนื่องจากตำแหน่งของดาวเหนืออยู่ตรงกับแกนหมุนของโลกพอดี จากการสังเกตดาวเหนือของคนที่อยู่ทาง ซีกโลกเหนือที่ละติจูดต่างกันจะเห็นดาวเหนืออยู่สูงจากขอบฟ้ามีค่ามุมเงยได้แตกต่างกันไปดังตาราง
ที่มา  http://www.wt.ac.th/~somyos/earth501.html
ตอบข้อ4
สืบค้นข้อมูล
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว 
ตอบข้อ  2
สืบค้นข้อมูล

 สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เงาของดวงจันทร์จะทอดมายังโลก ทำให้คนบนโลก (บริเวณเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์) มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวง ช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาจะกินเวลาไม่นานนัก เช่น เมื่อวันที่ 24 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน 3 ชั่วโมง นับตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าจนเคลื่อนออก สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือวันขึ้น 1 ค่ำ เท่านั้น ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ในเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืดมิดทั้งดวงเรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง ท้องฟ้าจะมืดไปชั่วขณะ ในขณะที่ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังไปบางส่วน เรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น ตำแหน่งที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก แต่ที่เรามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิด ก็เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์
ที่มา 
http://learning.eduzones.com/montra/2852
ตอบข้อ2

สืบค้นข้อมูล
สถานีอวกาศนานาชาติ (อังกฤษ: International Space Station; ISS) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 และมีแผนดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2011 ขณะที่การปฏิบัติการจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2015 หรืออาจเป็นไปได้ถึงปี ค.ศ. 2020เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกนับถึงปี ค.ศ. 2009 สถานีอวกาศแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในวงโคจรของโลก โดยมีมวลมากกว่าสถานีอวกาศที่เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ทั้งหมดสถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องทดลองวิจัยอย่างถาวรในอวกาศ ทำการทดลองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องอาศัยการทดลองในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากๆ สถานีอวกาศแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ทดสอบสำหรับระบบกระสวยอวกาศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร การทดลองและการบริหารสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยคณะนักบินอวกาศซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในระยะยาว สถานีเริ่มปฏิบัติการนับแต่ลูกเรือถาวรคณะแรก คือ เอ็กซ์เพดิชั่น 1 ที่ไปถึงสถานีอวกาศตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 จนถึง 18 มีนาคม 2010 คณะลูกเรือชุด เอ็กซ์เพดิชั่น 23 อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่นับรวมแล้วปฏิบัติการนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นเวลา 9 ป
ตอบข้อ  3
สืบค้นข้อมูล
กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศ ทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้งกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North
American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท RockwellInternational. สำหรับกระสวยอวกาศของสหภาพโซเวียต มีชื่อว่า บูราน (Buran - Бура́н แปลว่า พายุหิมะ) ปัจจุบันล้มเลิกโครงการไปแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ในสมัยประธานาธิบดีโบริส เยลท์ซิน เนื่องจากมีต้นทุนสูง และประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากปฏิบัติการเพียงหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในอวกาศเพียง 3 ชั่วโมงที่มากระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอดส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลักนอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB ก็หมด และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็ว  ของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักก็หยุด และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าก็ตกลงทะเลเครื่องยนต์ของจรวดสองลำก็รับภาระต่อไป ซึ่ง
เรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจรเมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และมันก็จะออกจากการโคจรของมัน จะกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตร ต่อวินาทีหรือ 1 ปีแสงทุก 1400ปี
ตอบข้อ 3